- Details
- Written by Administrator
- Category: Uncategorised
- Hits: 5402
ประวัติโรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์พนมทวน
การก่อตั้ง / การขยายตัว โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์ พนมทวน ถือกำเนิดจากสถานีอนามัยชั้นหนึ่งซึ่งก่อสร้างขึ้นในปี 2516 แล้วเสร็จในปี 2517 มีนายแพทย์เลอรัตน์ บูรณารมย์เป็นหัวหน้าสถานีอนามัยคนแรก มีเจ้าหน้าที่ 8 ท่าน บ้านพักสามหลัง ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 13 ไร่ หลังที่ว่าการอำเภอพนมทวนไม่มีผู้ป่วยไว้รักษา สภาพของสถานีอนามัยไม่มีน้ำประปา ใช้น้ำจากสระน้ำใหญ่ของวัดบ้านทวนซึ่งเป็นวัดประจำอำเภอที่อยู่ใกล้กัน
ปี 2518 ยกฐานะเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัยพนมทวน พร้อมกับได้นายแพทย์ธีรพล หงษ์ทองเป็นผู้อำนวยการคนแรกในปีนี้ได้สร้างบ้านพักและคลังยาเพิ่มขึ้น
ปี 2519 ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชนระดับ 10 เตียงและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาล พนมทวนมีนายแพทย์ สุรพงษ์ ตันธนศรีกุล เป็นผู้อำนวยการเริ่มทำน้ำประปาจากน้ำบาดาลใช้ในกิจการของโรงพยาบาล
ปี 2521 เปลี่ยนผู้อำนวยการเป็นนายแพทย์ทรงกิจ อติวนิชยพงษ์ มีนายแพทย์ประจำเพิ่มอีก 1 ท่าน เจ้าหน้าที่ 49 คน ประชาชนใช้บริการเพิ่มมากขึ้นทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ทำให้ทางรพ.มีการจัดกิจกรรมรณรงค์รุกเข้าสู่ชุมชน เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุขเป็นช่วงที่ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากชุมชน แต่ปัญหาความคับแคบของรพ.จำนวนเตียงไม่พอกับปริมาณคนไข้
ในสมัยนายแพทย์สุเทพ ลิ้มสุขนิรันด์เป็นผู้อำนวยการมีแนวคิดที่จะขยายรพ.เป็นระดับ 30 เตียง จึงปรารภเรื่องนี้กับพระเทพปัญญาสุธี (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งท่านได้มอบที่ดินที่มีผู้ถวายท่านไว้ 30 ไร่ ให้กับรพ.และชักชวนประชาชนในอำเภอพนมทวนและใกล้เคียงรวมทั้งวัดต่าง ๆ ในจังหวัดกาญจนบุรีร่วมสร้างรพ.ขึ้น เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2532 และเสร็จสิ้นลงในปี 2533 โดยที่แรงงานก่อนสร้างรวมทั้งผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นพระเณรของวัดไชยชุมพลชนะสงครามซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาส เกือบทั้งหมด โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ส่งนายช่างมาช่วยดูแลให้เป็นไปตามแปลน งบประมาณการก่อสร้างได้มาจาก นายสว่างและนางเคลิ้ม สุคนธสิทธิ์ผู้ถวายที่ดินเป็นเงินทั้งสิ้น 4,200,000 บาท และนางสมทรง จันทราภากุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้นอีก 1,000,000 บาท และจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาเป็นส่วนใหญ่ รวมเป็นค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 60 ล้านบาท เมื่อแล้วเสร็จโอนให้กระทรวงสาธารณสุขและขอเพิ่มชื่อจากรพ.พนมทวน เป็นรพ.เจ้าคุณไพบูลย์ พนมทวน ตามชื่อเดิมของท่านเจ้าคุณ ฯ พระผู้สร้างและพระผู้ให้ความอนุเคราะห์แก่รพ. แห่งนี้ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
รพ.เจ้าคุณไพบูลย์ พนมทวนเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2533โดยถือเอาวันครบรอบวันเกิดของท่านเจ้าคุณไพบูลย์ เป็นวันกำเนิดโรงพยาบาล ปัจจุบัน มี
♠ อาคารรักษาพยาบาล 4 หลัง
♥ อาคารผู้ป่วยนอก 1 หลัง
♥ อาคารผู้ป่วยใน 2 หลัง
♥ อาคารการแพทย์แผนไทย – ทางเลือก 1 หลัง
♠ มีเตียงรับผู้ป่วยสามัญ 29 เตียง ห้องพิเศษเดี่ยว 18 ห้อง , ห้องคลอด 7 เตียง รวม 54 เตียง
♠ เจ้าหน้าที่ทุกประเภทรวม 140 คน
การปรับปรุง
♥ ปี 2546 : ปรับปรุงห้องประชุมพระธรรมคุณาภรณ์
♥ ปี 2548 : ปรับปรุงขยายฝ่ายบริหารทั่วไป
: ขยายอาคารบริการผู้ป่วยนอก
♥ ปี 2559 : ก่อสร้างอาคารอำนวย-ทองยิ่ง
♥ ปี 2559 : ปรับปรุงต่อเติมห้องตรวจตา,ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา
♥ ปี 2560 : ต่อเติมทางเชื่อมอาคารพิเศษบน
♥ ปี 2560 : ก่อสร้างที่จอดรถเจ้าหน้าที่บริเวณตึกพิเศษ,อาคารที่พักพยาบาล
♥ ปี 2560 : ก่อสร้างที่จอดรถรถเข็นสำหรับคนไข้
♥ ปี 2560 : ปรับปรุงที่พักญาติบริเวณหลังอาคารผู้ป่วยสามัญ
♥ ปี 2560 : ก่อสร้างห้องน้ำคนไข้บริเวณหลังห้องคลอด
- Details
- Written by Administrator
- Category: Uncategorised
- Hits: 7337
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์ พนมทวน
- Details
- Written by Administrator
- Category: Uncategorised
- Hits: 6940
มาตรฐานขั้นตอนการให้บริการ (ภารกิจให้บริการประชาชนตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558)
- Details
- Written by Administrator
- Category: Uncategorised
- Hits: 5907
พันธกิจ (mission)
1.พัฒนาคุณภาพบริการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
2.พัฒนาคุณภาพบริการองค์รวม
3.สร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกร่วมกับภาคีเครือข่าย
4.พัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการเครือข่าย
- Details
- Written by Administrator
- Category: Uncategorised
- Hits: 3835
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 SO: ยกระดับคุณภาพการดูแลสุขภาพองค์รวมและมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Prevention & Promotion Excellence)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ST : เสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายในการสร้างสุขภาพเชิงรุกที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนพนมทวน (Service Excellence)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 WO : มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพ (People Excellence)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 WT : เพิ่มประสิทธิภาพสารสนเทศสุขภาพดิจิตอลและการบริหารจัดการการเงินการคลัง (Governance Excellence)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ(Promotion Prevention&Protection Excellence) |
เป้าประสงค์: |
1) ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพที่ดี |
2) มีระบบป้องกัน ควบคุมโรค ระบบเฝ้าระวังโรคที่สามารถตอบสนองได้ทันที |
3) มีระบบคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพ |
4) มีระบบการบริการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอือต่อสุขภาพของประชาชน |
5) ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค |
กลยุทธ์: |
1) พัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพโดยการพัฒนาศักยภาพคนไทยทุกกลุ่มวัย (ด้านสุขภาพ) |
2) พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการ (ANC /WCC /NCD) |
3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลรายบุคคล และเชื่อมโยงระบบข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
4) ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาศักยภาพบุคลากร |
5) เสริมสร้างความเข้มแข็งของป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ |
6) ส่งเสริมและสนับสนุน สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค |
7) ผลักดันและบังคับใช้กฎหมาย |
8) บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื อต่อการมีสุขภาพที่ดี |
9) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของเครือข่าย |
แผนงาน/โครงการ : |
แผนงานที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย (ด้านสุขภาพ) |
แผนงานที่ 2 การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอ้าเภอ |
แผนงานที่ 3 การป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ |
แผนงานที่ 4 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริการเป็นเลิศ (Service Excellence) |
เป้าประสงค์: |
1) มีหมอครอบครัวดูแลประชาชนทุกครัวเรือน |
2) มีระบบบริการสุขภาพที่ได้คุณภาพมาตรฐาน |
3) มีระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ |
4) มีเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ทันสมัยและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล |
5)มีความร่วมมือทั งระหว่างหน่วยงานภายในประเทศและหน่วยงานต่างประเทศโดยเฉพาะในการ ป้องกันและรักษาโรคที่มีความส้าคัญ |
กลยุทธ์: |
1) พัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิ (Primary Care Cluster) โดยให้มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแล ทุกครัวเรือน |
2) พัฒนาระบบบริการตามแผนพัฒนาบริการสุขภาพ (Service Plan) ที่ครอบคลุมทุกระบบ ในการ ให้บริการทุกพื นที่ |
3) พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและพัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อทุกระดับให้มี ประสิทธิภาพ |
4) ส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก ภูมิปัญญาและสมุนไพรไทย |
5) สนับสนุนหน่วยงานบริการด้านสุขภาพให้ได้มาตรฐานสากล |
6) ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ |
7) สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน |
แผนงาน/โครงการ: |
แผนงานที่ 1 การพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิ (Primary Care Cluster) |
แผนงานที่ 2 การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) |
แผนงานที่ 3 การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและระบบการส่งต่อ |
แผนงานที่ 4 การพัฒนาตามโครงการพระราชด้าริและพื นที่เฉพาะ |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence) |
เป้าประสงค์: |
1) วางแผนอัตราก้าลังให้สอดคล้องกับกรอบความต้องการอัตราก้าลังคนของประเทศ |
2) กระจายสัดส่วนบุคลากรสุขภาพทั งในเขตเมืองและชนบทให้มีความสมดุลกัน |
3) ธ้ารงรักษาก้าลังคนด้านสุขภาพ |
กลยุทธ์: |
1) พัฒนาระบบบริหารจัดการก้าลังคนด้านสุขภาพ |
2) ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิต พัฒนา และธ้ารงรักษาก้าลังคนด้านสุขภาพ |
3) สร้างเครือข่ายการผลิตและพัฒนาก้าลังคนด้านสุขภาพ |
4) ส่งเสริมและพัฒนาผู้เชี่ยวชาญในระบบสุขภาพ |
5) มีระบบฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ |
แผนงาน/โครงการ: |
แผนงานที่ 1 การพัฒนาระบบบริหารจัดการก้าลังคนด้านสุขภาพ |
ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล(Governance Excellence) |
เป้าประสงค์ : |
1) วางรากฐานให้ระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากรในทุกภาคส่วนอย่างมีคุณภาพโดยไม่มีความเหลื่อมล้าของคุณภาพบริการในแต่ละระบบ |
2) มีการบูรณาการข้อมูลระหว่างทุกระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ |
3) สร้างและพัฒนากลไกการดุลด้านการเงินการคลังสุขภาพ |
4) มีระบบเทคโนโลยีดิจิตอลด้านสุขภาพ |
5) มีการท้าวิจัยและน้าผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ |
กลยุทธ์: |
1) พัฒนาระบบธรรมาภิบาลและคุณภาพการบริการจัดการภาครัฐ |
2) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ |
3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลบริการ และเชื่อมโยงระบบข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(big data) |
4) บริหารจัดการด้านการเงินการคลังสุขภาพ |
5) พัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยและองค์ความรู้ด้านสุขภาพ อย่างครบวงจร |
6) ปรับปรุงโครงสร้างและการพัฒนากฎหมายด้านสุขภาพ |
7) ปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง |
8) ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสุขภาพ |
แผนงาน/โครงการ: |
แผนงานที่ 1 การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลและคุณภาพการบริการจัดการภาครัฐ |
แผนงานที่ 2 การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ |
แผนงานที่ 3 การบริหารจัดการด้านการเงินการคลังสุขภาพ |
แผนงานที่ 4 การพัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้ด้านสุขภาพ |
ACTION PLAN
Page 3 of 4